ความในใจของนักเรียนการแปล
1. นักเรียนการแปลไม่ได้รู้ความหมายของศัพท์ทุกคำบนโลกนี้
หลายคนเข้าใจผิดคิดว่านักเรียนการแปลต้องรู้ความหมายของศัพท์ทุกคำ ถามคำไหนมาปุ้บ ต้องตอบได้ปั้บว่าแปลว่าอะไร ซึ่งไม่ใช่ค่ะ นักเรียนการแปลค่ะ ไม่ใช่ ดิกชันนารี่ เราไม่ได้รู้ความหมายของศัพท์ทุกคำบนโลกใบนี้นะคะ เราก็ยังต้องอาศัยดิกชันนารี่ในการหาความหมาย บางครั้งคำหนึ่งคำก็ไม่สามารถให้ความหมายได้ทั้งหมดด้วยการเปิดดิกชันน่ารี่อย่างเดียวค่ะ ต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆ ร่วมด้วยเหมือนกัน และไม่ใช่ ถามปุ้บ ตอบปั้บ ค่ะ นี่นักเรียนการแปลเอง ไม่ใช่อับดุล
2. การแปลไม่มีคำว่าฟรี
กว่าจะเป็นงานแปลหนึ่งชิ้น ต้องผ่านกระบวนการมากมาย ต้องใช้เวลา ใช้ทักษะต่างๆ กว่าจะสำเร็จออกมาเป็นบทแปลที่สมบูรณ์หนึ่งหน้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เราต้องอ่านต้นฉบับอย่างน้อยสองรอบ รอบแรกเพื่อความเข้าใจ รอบสอบเพื่อวิเคราะห์ คิดหากระบวนการแปล ลงมือแปล เลือกหาคำเทียบเคียงที่เหมาะสม เสร็จแล้วต้องเกลา เกลาแล้วต้องกลับมาอ่าน ทิ้งไว้อย่างน้อยสองสามวัน นอนฝันถึงปรมาจารย์ด้านการแปล รอให้บทแปลมันนิ่ง แล้วกลับมาเช็คใหม่ เกลาอีกรอบสองรอบ บางทีได้เป็น 10 ดราฟท์ กว่าจะถึงกำหนดส่ง นี่แค่ขั้นตอนคร่าวๆ เห็นไหมคะว่า เราต้องลงทุนลงแรง ใช้สมอง ใช้ทักษะ ใช้เวลา ต้องค้นคว้า ต้องหาข้อมูล ซึ่งการแปลยังเปรียบเสมือนเป็นงานเขียนประเภทหนึ่ง เป็นงานเขียนในอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของต้นฉบับ ฉะนั้น อย่าทำร้ายกันด้วยการวานแปลฟรีเลยนะคะ
3. งานแปลไม่ใช่ราคาถูก
หลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมงานแปลถึงราคาสูง ลองอ่านกระบวนการคร่าวๆ ตามข้อ 2. นะคะ แล้วน่าจะทำให้พอเข้าใจมากขึ้น และยิ่งเป็นงานแปลที่เฉพาะทางมากๆ หรืองานที่ต้องอาศัยการค้นคว้าหาข้อมูลมากๆ นักแปลต้องทำงานหนักมากขึ้น งานแปลก็จะยิ่งราคาสูงขึ้นเป็นธรรมดา ทางที่ดีก่อนจะติเรื่องราคา ยังไงก็ตกลง ต่อรองกันก่อนที่จะรับปากลงมือแปลดีกว่านะคะ เพื่อความสบายใจกันทั้งสองฝ่าย
4. นักเรียนการแปลไม่ได้แปลได้เอวี่ติงจิงเกอเบล
หลายคนเข้าใจว่า เมื่อเรียนการแปล หมายความว่า ต้องแปลได้ทุกอย่าง-- ผิดค่ะ!
การแปลมีหลายประเภทนะคะ เช่น การแปลคู่มือ การแปลทางด้านกฎหมาย การแปลทางด้านวิทยาศาสตร์ การแปลทางด้านธุรกิจ การแปลเพลง การแปลภาพยนตร์ และในการแปลแต่ละประเภทมีจุดประสงค์ มีหลักการ หรือกฎเกณฑ์ในการแปลที่แตกต่างกัน นักแปลแต่ละคนอาจจะมีความรู้ความชำนาญแตกต่างกันไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถแปลงานได้ดีทุกด้าน นักแปลแต่ละท่านอาจจะมีความชำนาญในการแปลงานบางประเภทเท่านั้น นักเรียนการแปลก็เช่นกัน ถึงจะเรียนการแปลมาโดยตรงก็ตาม แต่ไม่ได้แปลว่าจะได้แปลทุกอย่าง จงอย่าคาดหวังว่าเราจะแปลได้ตั้งแต่คัมภีร์ไบเบิ้ล ยันกุรอ่านนะคะ (ยิ้มอ่อน) บางคนคือเห็นว่าเราเรียนการแปลก็โยนงานแปลทุกอย่างมาให้เรา พร้อมคำพูดที่ว่า "เรียนการแปลไม่ใช่หรอ" --- โน โน๊ โน่ ค่ะ อย่าพูดอย่างนั้น T^T
สำหรับวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ค่ะ ที่พอจะนึกออก
(โตขึ้นหนูจะไม่เป็นนักแปล)
หลายคนเข้าใจผิดคิดว่านักเรียนการแปลต้องรู้ความหมายของศัพท์ทุกคำ ถามคำไหนมาปุ้บ ต้องตอบได้ปั้บว่าแปลว่าอะไร ซึ่งไม่ใช่ค่ะ นักเรียนการแปลค่ะ ไม่ใช่ ดิกชันนารี่ เราไม่ได้รู้ความหมายของศัพท์ทุกคำบนโลกใบนี้นะคะ เราก็ยังต้องอาศัยดิกชันนารี่ในการหาความหมาย บางครั้งคำหนึ่งคำก็ไม่สามารถให้ความหมายได้ทั้งหมดด้วยการเปิดดิกชันน่ารี่อย่างเดียวค่ะ ต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆ ร่วมด้วยเหมือนกัน และไม่ใช่ ถามปุ้บ ตอบปั้บ ค่ะ นี่นักเรียนการแปลเอง ไม่ใช่อับดุล
2. การแปลไม่มีคำว่าฟรี
กว่าจะเป็นงานแปลหนึ่งชิ้น ต้องผ่านกระบวนการมากมาย ต้องใช้เวลา ใช้ทักษะต่างๆ กว่าจะสำเร็จออกมาเป็นบทแปลที่สมบูรณ์หนึ่งหน้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เราต้องอ่านต้นฉบับอย่างน้อยสองรอบ รอบแรกเพื่อความเข้าใจ รอบสอบเพื่อวิเคราะห์ คิดหากระบวนการแปล ลงมือแปล เลือกหาคำเทียบเคียงที่เหมาะสม เสร็จแล้วต้องเกลา เกลาแล้วต้องกลับมาอ่าน ทิ้งไว้อย่างน้อยสองสามวัน นอนฝันถึงปรมาจารย์ด้านการแปล รอให้บทแปลมันนิ่ง แล้วกลับมาเช็คใหม่ เกลาอีกรอบสองรอบ บางทีได้เป็น 10 ดราฟท์ กว่าจะถึงกำหนดส่ง นี่แค่ขั้นตอนคร่าวๆ เห็นไหมคะว่า เราต้องลงทุนลงแรง ใช้สมอง ใช้ทักษะ ใช้เวลา ต้องค้นคว้า ต้องหาข้อมูล ซึ่งการแปลยังเปรียบเสมือนเป็นงานเขียนประเภทหนึ่ง เป็นงานเขียนในอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของต้นฉบับ ฉะนั้น อย่าทำร้ายกันด้วยการวานแปลฟรีเลยนะคะ
3. งานแปลไม่ใช่ราคาถูก
หลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมงานแปลถึงราคาสูง ลองอ่านกระบวนการคร่าวๆ ตามข้อ 2. นะคะ แล้วน่าจะทำให้พอเข้าใจมากขึ้น และยิ่งเป็นงานแปลที่เฉพาะทางมากๆ หรืองานที่ต้องอาศัยการค้นคว้าหาข้อมูลมากๆ นักแปลต้องทำงานหนักมากขึ้น งานแปลก็จะยิ่งราคาสูงขึ้นเป็นธรรมดา ทางที่ดีก่อนจะติเรื่องราคา ยังไงก็ตกลง ต่อรองกันก่อนที่จะรับปากลงมือแปลดีกว่านะคะ เพื่อความสบายใจกันทั้งสองฝ่าย
4. นักเรียนการแปลไม่ได้แปลได้เอวี่ติงจิงเกอเบล
หลายคนเข้าใจว่า เมื่อเรียนการแปล หมายความว่า ต้องแปลได้ทุกอย่าง-- ผิดค่ะ!
การแปลมีหลายประเภทนะคะ เช่น การแปลคู่มือ การแปลทางด้านกฎหมาย การแปลทางด้านวิทยาศาสตร์ การแปลทางด้านธุรกิจ การแปลเพลง การแปลภาพยนตร์ และในการแปลแต่ละประเภทมีจุดประสงค์ มีหลักการ หรือกฎเกณฑ์ในการแปลที่แตกต่างกัน นักแปลแต่ละคนอาจจะมีความรู้ความชำนาญแตกต่างกันไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถแปลงานได้ดีทุกด้าน นักแปลแต่ละท่านอาจจะมีความชำนาญในการแปลงานบางประเภทเท่านั้น นักเรียนการแปลก็เช่นกัน ถึงจะเรียนการแปลมาโดยตรงก็ตาม แต่ไม่ได้แปลว่าจะได้แปลทุกอย่าง จงอย่าคาดหวังว่าเราจะแปลได้ตั้งแต่คัมภีร์ไบเบิ้ล ยันกุรอ่านนะคะ (ยิ้มอ่อน) บางคนคือเห็นว่าเราเรียนการแปลก็โยนงานแปลทุกอย่างมาให้เรา พร้อมคำพูดที่ว่า "เรียนการแปลไม่ใช่หรอ" --- โน โน๊ โน่ ค่ะ อย่าพูดอย่างนั้น T^T
สำหรับวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ค่ะ ที่พอจะนึกออก
(โตขึ้นหนูจะไม่เป็นนักแปล)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น