มารู้จัก IQ และ EQ กันค่ะ

ส่วนใหญ่ทุกคนเคยได้ยินและรู้จักกันอยู่แล้วสำหรับคำว่า "IQ" แต่หลายๆ คนยังไม่รู้จักคำว่า "EQ" วันนี้เราลองมาดูกันนะคะ ว่า "EQ" คืออะไร และเหมือนหรือแตกต่างจาก "IQ" ยังไงบ้าง



ตต.


IQ หรือ Intelligence Quotient ที่เราได้ยินและรู้จักกันนั้น คือ ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง เป็นสมรรถภาพทางสมอง (Mental Ability) ของมนุษย์

 
ส่วน EQ หรือ Emotional Quotient  คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือความสามารถของบุคคลในการตระหนักรู้ถึงความรู้สึก ความคิด และภาวะอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น และมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง แสดงออกทางด้านความคิดและการกระทำได้อย่างสมเหตุสมผลในสภาวะการณ์ต่างๆ โดยมีสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่นๆ และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข

จะเห็นได้ว่า IQ และ EQ เป็นสองอย่างที่แตกต่างกัน IQ เป็นความฉลาดทางด้านเชาว์ปัญญา แต่ EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือความฉลาดในการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ดังนั้น การที่มี IQ สูง อาจจะไม่ได้แปลว่าจะมี EQ สูงตามไปด้วย แต่การมี IQ สูง สามารถฝึก EQ ให้สูงตามได้เป็นอย่างดี เป็นความสามารถที่ส่งเสริมกัน ส่วนผู้ที่มี IQ ธรรมดาก็สามารถพัฒนา EQ ให้สูงได้เช่นกัน

ไม่แปลกที่บางครั้งเราจะพบผู้ที่ IQ ธรรมดา แต่มี EQ สูงกว่า คนที่ IQ สูง และอาจจะพบผู้ที่มี IQ สูง แต่ EQ ต่ำ ได้เช่นกัน


EQ มีความสำคัญยังไง?

หากมองว่า IQ ของบุคคลคือสิ่งสำคัญที่สุดเห็นทีคงจะไม่ถูกต้องนัก หากมนุษย์ยังเป็นสังคมที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น การมี IQ ที่สูง แต่ไม่พัฒนา EQ ให้สูงตามไปด้วย บุคคลผู้นั้นก็อาจจะเป็นเพียงบุคคลที่มีความฉลาดทางสมองอย่างเดียว แต่ EQ ต่ำ ไม่สามารถจัดการความคิด หรืออารมณ์ของตนเองในขณะที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมี EQ ต่ำ เช่น

1. ชอบวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น
2. ชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่เกินเหตุ
3. ชอบคิดแทนผู้อื่นโดยไม่พยายามเข้าใจข้อเท็จจริง
4. ชอบยึดเอาความคิดและเหตุผลของตนเองเป็นศูนย์กลาง
5. ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6. แสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ออกมาทุกครั้งที่รู้สึกโกรธหรือไม่พอใจ
7. ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
8. ให้อภัยคนไม่เป็น ชอบผูกใจเจ็บและอาฆาต
9. ไม่สนใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น
10. ชอบตัดสินผู้อื่น
11. ชอบตำหนิผู้อื่น
12. มองโลกในแง่ร้าย

เป็นต้น


ดังนั้น การจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข IQ ที่สูงเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ การรู้จักพัฒนา EQ ให้สูงอยู่เสมอ ก็คือการฝึกจัดการกับอารมณ์ของตนเอง แสดงความคิดและอารณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมเหตุสมผล หัดคิดถึงความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจ และไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เพื่อเป็นการเสริมสร้างวุฒิภาวะและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข





ตต.






ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม